brabus
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #375 เมื่อ: มกราคม 21, 2010, 02:38:33 PM » |
|
 ขอบคุณค่ะพี่ทองใหม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
sa
Jr. Member

ออฟไลน์
กระทู้: 264
|
 |
« ตอบ #376 เมื่อ: มกราคม 21, 2010, 03:04:57 PM » |
|
ขอบคุณค่ะ ข้อมูลแน่นปึกเลยจะหัดดูกราฟนะคะผิดถูกยังไงแนะนำด้วยนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
ทองใหม่
|
 |
« ตอบ #380 เมื่อ: มกราคม 22, 2010, 06:22:58 AM » |
|
กราฟGold 1 ช่อง1 เส้นแดงอยู่เหนือเส้นเขียว---ทิศทางขึ้น ผู้เล่นออนไลน์ให้ดูเส้นปะ(เส้นปะสีขาว---เส้นแนวต้านและหนุน)และเส้นแนวโน้ม(เส้นแนวโน้ม---สีฟ้า---ทิศทางขึ้น สีเหลืองทอง?ทิศทางลง สีขาว?กำลังหาทิศใหม่)ประกอบ ตั้งจุดกำไรและขาดทุน เส้นเขียวอยู่เหนือเส้นแดง---ทิศทางลง ผู้เล่นออนไลน์ให้ดูเส้นปะ(เส้นปะสีขาว---เส้นแนวต้านและหนุน)และเส้นแนวโน้ม(เส้นแนวโน้ม---สีฟ้า---ทิศทางขึ้น สีเหลืองทอง?ทิศทางลง สีขาว?กำลังหาทิศใหม่)ประกอบ ตั้งจุดกำไรและขาดทุน เส้นแดงและเขียวประสานเป็นกากะบาด ---กำลังจะเปลี่ยนทิศ ให้ดูเส้นแนวโน้มประกอบ หากเส้นแดงและเขียวกำลังจะประสาน แต่ไม่ทันได้ประสานก็หันหันหัวกลับขึ้นหรือลง แสดงว่ากำลังมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนี่งเกิดขึ้น หากขึ้นทะลุเส้นปะแนวต้าน ให้ดูเส้นปะแนวต้านเส้นต่อไป หากลงทะลุเส้นปะแนวหนุน ให้ดูเส้นแนวหนุนเส้นต่อไป ส่วนจุดกลมเหลืองทอง---ทิศทางลง จุดกลมฟ้า---ทิศทางขึ้น หากกราฟวิ่งในยามปกติ พอเชื่อถือได้ หากกราฟวิ่งขึ้นลงแรงๆ คือยามไม่ปกติ ไม่อาจเชือถือได้ ช่อง2 ให้ดูเส้นสีม่วง ประกอบกับเส้นแนวโน้มในช่อง1 หากหันหัวไปในทิศทางเดียวกัน โอกาสที่จะผิดพลาดก็มีน้อย ส่วนเส้นปะสีเหลืองทองและฟ้า หากขึ้นเหนือเลข80 เข้าสู่เขตซื้อเกิน ระวังจะเปลี่ยนทิศได้ทุกเมื่อ หากลงต่ำกว่าเลข20 เข้าสู่เขตขายเกิน ระวังจะเปลี่ยนทิศได้ตลอดเวลา ช่อง3 ให้ดูทั้ง2เส้น คือเหลืองทองและฟ้า หันหัวไปทิศทางเดียวกันหรือไม่ เท่านั้นยังไม่พอ ให้ดูประกอบทิศทางในช่อง1ว่าเป็นทิศทางเดียวกันหรือไม่ หากทิศทางหันหัวในแนวเดียวกัน ทิศทางนั้นเชื่อถือได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ทองใหม่
|
 |
« ตอบ #381 เมื่อ: มกราคม 22, 2010, 07:44:14 AM » |
|
!thk หือ...ทิศทางลง ชัดเจนเลย ยังไม่ถึงเวลาเก็บอีกหรอคะ
หากว่ากันตามกราฟตาแป๊ะ น่าจะรออีกหน่อย เพราะตาแป๊ะร้องไห้ยังไม่เต็มที่ ฮาฮา ใครกลัวขึ้นรถไม่ทัน ก็ทยอยซื้อที่ละนิดไม่เป็นไรจ้า ถึงดอยก็ดอยนิดหน่อย แต่อาจเป็นคนแรกที่ขึ้นรถก่อนใครก็ได้นา ฮาฮา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ทองใหม่
|
 |
« ตอบ #382 เมื่อ: มกราคม 22, 2010, 08:11:57 AM » |
|
กราฟใหม่2010(เรามาช่วยกันใช้กาลเวลาพิสูจน์ว่า กราฟตัวนี้จะมีความขลังเท่ากราฟตาแป๊ะไหม) 1. ซ้ายบนหน้าเทาขาวและหนังสือสีขาว??ถอนตัว(ขาย) หน้าแดงและหนังสือสีเหลือง??บุก(ซื้อ) 2. กลางบน หนังสือสีเขียว??ขาย หนังสือสีแดง??ซื้อ ส่วนตัวหนังสือสีเหลือง ?เส้นหยุดขาดทุน(สำหรับผู้ที่เล่นออนไลน์สั่งป้องกันล่วงหน้าได้เท่านั้น) 3. ขวาบน เครื่องหมายสีขาว??ขาย เครื่องหมายสีชมภู ? ?ซื้อ4. ซ้ายล่าง สีแดง???เพดาน(จะอยู่ช่วงบน) สีแดง???ซื้อ(จะอยู่ช่วงล่าง) สีเขียว ?หนีเร็ว หากเครื่องหมาย ?ปรากฏแค่/ยังไม่สมบูรณ์เต็มตัว?เตรียมตัวหนี(จะปรากฏพร้อม เพดาน(จะอยู่ช่วงบน) ) และตัวหนังสือสีเขียว? เจอต่ำซื้อ5. กลางล่าง หน้าเทาขาว?ขาย หน้าแดง?ซื้อ6. ขวาล่าง ตัวหนังสือสีเขียว (?)?ขาย ตัวหนังสือสีเหลือง (?)?ซื้อ (กราฟช่องนี้ ให้สัญญาณทั้งซื้อและขายออกจะไวกว่ากราฟช่องอื่นๆ มีทั้งข้อดีและเสีย บางครั้งก็ตรงตามสัญญาณที่ให้ในทันทีเลย บางคั้งก็อาจเลื่อนออกไปอีกตั้งหลายวันจึงจะตรงตามสัญญาณที่ปรากฏ สัญญาณของกราฟช่องนี้ ให้เพื่อนๆตัดสินใจเอาเองด้วยความระมัดระวังตามใจชอบนะครับ ขอเตือนเป็นพิเศษ) 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
brabus
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #383 เมื่อ: มกราคม 22, 2010, 09:20:03 AM » |
|
 สวัสดีตอนเช้าค่ะพี่ทองใหม่ ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
sa
Jr. Member

ออฟไลน์
กระทู้: 264
|
 |
« ตอบ #384 เมื่อ: มกราคม 22, 2010, 10:15:42 AM » |
|
ขอบคุณค่ะคุณทองใหม่ วันนี้น่าสนขอเก็บสักนิดแล้วกันค่ะรอตาแป๊ะร้องไห้เต็มที่แล้วค่อยเข้าหมด ฮิ ฮิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ทองใหม่
|
 |
« ตอบ #385 เมื่อ: มกราคม 22, 2010, 10:27:04 AM » |
|
สหรัฐฯเตรียมเสนอกฎคุมเข้มธนาคาร - จีนจ่อขึ้นแท่นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
Posted on Friday, January 22, 2010 แผนกำกับภาคธนาคารสหรัฐฯ กดดันนักลงทุนทิ้งหุ้น
นักลงทุนแห่เทขายหุ้นออกหลังประธานาธิบดี บารัค โอบามา เสนอมาตรการจำกัดการรับความเสี่ยงของภาคธนาคาร ซึ่งสร้างความกังวลนอกไปเหนือจากเรื่องจีน ที่อาจจะออกนโยบายลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจอีกรอบ หลังรายงานตัวเลข GDP พุ่งเป็นตัวเลขสองหลักในไตรมาส 4
ทั้ง Dow Jones และ S&P 500 ปรับตัวลงแรง ลบล้างผลตอบแทนที่เป็นบวกที่ทำมาได้ตั้งแต่ตอนต้นปี ด้วยแรงขายที่เข้ามาหนักในหุ้นกลุ่มแบงก์ ไปจนถึง commodities
ประธานาธิบดี โอบามา ได้เสนอให้มีการยกเครื่องกฏหมายทางด้านการกำกับดูแลภาคธนาคาร และขณะนี้ก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาโดยสภาคองเกรส ซึ่งกฏหมายฉบับนี้ได้มุ่งให้มีการจำกัดขนาดและธุรกรรมการซื้อขายของสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อหวังที่จะลดระดับความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติการเงินอีกรอบ
ข้อเสนอในร่างกฏหมายดังกล่าวรวมไปถึงการห้ามไม่ให้ธนาคารดำเนินการซื้อขายที่เป็นพอร์ทการลงทุนของตัวเองเพียงเพื่อมุ่งหวังกำไร และสนับสนุนกองทุนเก็งกำไร และ private equity funds ทั้งหลายด้วย
โอบามายังได้เสนอให้มีการขยายขอบเขตของข้อจำกัดทางด้านเงินฝากให้ครอบคลุมไปถึงหนี้สินประเภทอื่นๆ อย่างเช่น การระดมทุนที่ไม่ใช่การฝากเงิน เพื่อต้องการจำกัดการขยายตัวและการควบรวมในตัวเลขทางการเงินต่างๆ
นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า นโยบายจัดการกับภาคธนาคารครั้งนี้ อาจจะไปกระทบแบงก์ขนาดใหญ่ ที่ปกติจะมีการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ต่างๆ อยู่แล้ว ซึ่งก็รวมถึง Goldman Sachs Group, Morgan Stanley และ JPMorgan Chase
นักลงทุนเทกระจาดหุ้นทั้ง 3 ธนาคารที่ว่า จนราคาดิ่งลงมากกว่า 5% ในการซื้อขายเมื่อคืนนี้ และนำดัชนีกลุ่มการเงินใน S&P 500 ร่วงลงกว่า 3% ซึ่งแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว
และนอกจากเรื่องมาตรการกำกับดูแลภาคธนาคารแล้ว ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ นำโดย น้ำมัน ก็ลดความร้อนแรงลง จากความกังวลเรื่องจีนอาจใช้มาตรการแตะเบรคทางเศรษฐกิจ หลัง GDP ไตรมาส 4 ออกมา 10.7% ขณะที่ราคาน้ำมันถูกกดดันจากตัวเลขสต็อกน้ำมันสำเร็จรูปของสหรัฐฯ ในสัปดาห์ล่าสุดที่ออกมาเพิ่มขึ้นมากกว่าตลาดคาดการณ์
ประธานาธิบดีสหรัฐฯเตรียมเสนอกฎคุมขนาดแบงก์และห้ามเก็งกำไรในพอร์ต
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เตรียมเสนอให้มีการจำกัดขนาดของสถาบันการเงินและกิจกรรมการซื้อขาย เพื่อหาทางบรรเทาความเสี่ยง
ข้อเสนอในร่างกฏหมายดังกล่าวรวมไปถึงการห้ามไม่ให้ธนาคารดำเนินการซื้อขายที่เป็นพอร์ตการลงทุนของตัวเองเพียงเพื่อมุ่งหวังกำไร และสนับสนุนกองทุนเก็งกำไร และ private equity funds ทั้งหลายด้วย
โอบามายังได้เสนอให้มีการขยายขอบเขตของข้อจำกัดทางด้านเงินฝากให้ครอบคลุมไปถึงหนี้สินประเภทอื่นๆ อย่างเช่น การระดมทุนที่ไม่ใช่การฝากเงิน เพื่อต้องการจำกัดการขยายตัวและการควบรวมในตัวเลขทางการเงินต่างๆ
ข้อเสนอดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างกฎระเบียบ และจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทการเงินเหล่านี้ โดยผู้นำสหรัฐจะประกาศกฎเกณฑ์ดังกล่าวในวันนี้ตามเวลาท้องถิ่นในสหรัฐ หลังจากที่ได้ประชุมร่วมกับนายพอล วอล์คเกอร์ อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐที่ทำเนียบขาว
โอบามากำลังปรับเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจ หลังจากที่ประชาชนยังไม่พอใจเศรษฐกิจที่ยังคงย่ำแย่
นอกจากนี้ การนำเงินภาษีประชาชนไปช่วยเหลือบริษัทหรือสถาบันการเงินที่มีปัญหา สามารถช่วยให้กำไรของธนาคารเพิ่มขึ้น แต่กลับไม่สามารถช่วยให้อัตราว่างงานปรับตัวลดลงได้ โดยอัตราว่างงานยังอยู่ในระดับสูงถึง 10% และยอดขาดดุลเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว
นักวิเคราะห์มองว่า ข้อเสนอดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อการซื้อขายของธนาคารรายใหญ่ๆ เช่น โกลด์แมน แซคส์, มอร์แกน สแตนลีย์ และเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค
เมื่อเดือนมิ.ย.ปีที่แล้ว โอบามาได้เสนอให้มีการยกเครื่องกฎระเบียบด้านการเงิน เพื่อแก้ปัญหาช่องว่างในการกำกับดูแลและการจัดการกับภารกิจในการแบกรับความเสี่ยง
จีนจ่อขึ้นแท่นเป็นประเทศเขตเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลก
โฆษกสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน สรุปตัวเลขเศรษฐกิจของจีนเมื่อปีที่แล้ว ขยายตัว 8.7 % ขณะที่ เศรษฐกิจจีนในไตรมาสสุดท้ายเติบโต 10.7% ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่เศรษฐกิจของจีนจะแซงหน้าเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ขึ้นเป็นเขตเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐ
จีนก็เช่นเดียวกับประเทศอื่นที่ประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2551 ถึงต้นปี 2552 ทำให้โรงงานหลายแห่งต้องปิดกิจการและคนงานถูกลอยแพ แต่แผนกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของรัฐบาลช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นและส่งสัญญาณในขณะนี้ว่ากำลังขยายตัวรวดเร็วมาก
ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 1.9% ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ก็ยังอยู่ในการควบคุม อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจและหาทางควบคุมการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร
แม้ว่าเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่รัฐบาลกังวลว่า การกระตุ้นการใช้จ่ายและการปล่อยกู้ของธนาคารอาจทำให้ภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจึงมีคำสั่งให้ธนาคารควบคุมการปล่อยกู้ และคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
เจียง เฉา นักวิเคราะห์จากกั๋วไท่ จวินอัน ซีเคียวริตี้ คาดการณ์ว่า แบงก์ชาติจีนอาจขึ้นดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในช่วงปลายเดือนนี้หรืออย่างช้าที่สุดในช่วงปลายเดือนเม.ย. เนื่องจากการขยายตัวของ GDP ที่สูงกว่า 10% นั้นกำลังบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป
หลี่ เตากุย ศาสตราจารย์ด้านการเงินจากมหาวิทยาลัยชิงหัว คาดการณ์ว่า GDP ของจีนจะขยายตัวมากกว่า 9% ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ และจะชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลัง รวมทั้งประเมินว่า GDP จะโต 8.7% ตลอดปี 2553 และดัชนีราคาผู้บริโภคจะปรับตัวสูงขึ้นในปีนี้ ในอัตราเฉลี่ย 2.6% ต่อไตรมาส
ส่วนความเห็นของตัวทางจากทางการจีน ปฏิเสธว่าจะคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนไล่ทันญี่ปุ่น เพราะในความเป็นจริงตามมาตรฐานสหประชาชาติ จีนยังมีประชากรอีกถึง 150 ล้านคนที่มีฐานะยากจน มีรายได้ยังชีพเพียงวันละ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 33.50 บาท ซึ่งแม้ว่าตัวเลข GDP ของจีนเพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจแข็งแรง แต่ก็ยังต้องยอมรับว่าจีนเป็นประเทศกำลังพัฒนา
คำสั่งซื้อภาคผลิต-บริการของยุโรปแผ่วลงในเดือนม.ค.
ขณะที่เศรษฐกิจจีนสามารถโตได้เป็นตัวเลขสองหลักในไตรมาสที่ผ่านมา แต่เครื่องชี้สภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรปกลับยังดูมีอุปสรรคอยู่ในตอนนี้
ความกังวลสะท้อนผ่านดัชนีคำสั่งซื้อในภาคการผลิตและบริการของ 16 ประเทศในเขตยูโรโซน ที่ทำการสำรวจโดย Markit Economics ออกมาปรับตัวลงจากระดับ 54.2 ในเดือนธันวาคม มาอยู่ที่ 53.6 ในเดือนนี้ แถมยังต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าตัวเลขจะยังยืนอยู่แถวระดับ 54
ผลสำรวจนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตัวชี้วัดอื่นๆ ในภูมิภาคที่ออกมาก่อนหน้านี้ ซึ่งรวมถึงความเชื่อมั่นนักลงทุนของเยอรมันที่ร่วงลงในเดือนล่าสุด และยังถูกตอกย้ำด้วยมุมมองของสมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรปรายหนึ่งที่คาดว่า แนวโน้มเศรษฐกิจภูมิภาคในช่วงครึ่งปีแรกอาจตกอยู่ในสภาพที่นิ่งสนิท ซึ่งดูแย่กว่าเมื่อเทียบกับครึ่งหลังของปีที่แล้ว
อย่างไรก็ดี ก็มีความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์จาก Citigroup ที่ดูแลภูมิภาคยุโรป มองว่า การปรับตัวลงอาจจะแย่กว่าที่เคยคาดการณ์เพียงเล็กน้อย ซึ่งน่าจะเป็นเพียงการแกว่งลงในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ แต่คงจะไม่ถึงขนาดที่ทำให้ทุกอย่างต้องเดินกลับสู่ภาวะถดถอยอีกครั้ง
ปัจจัยสกัดดาวรุ่งของเศรษฐกิจภูมิภาคยุโรปอย่างหนึ่งก็คือ การแข็งค่าของเงินยูโร ที่ขยับขึ้นมาแล้วราว 8% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งไปสร้างแรงกดดันต่อภาคส่งออกและทำให้เกิดความลังเลอย่างมาก ว่าจะจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นดีหรือไม่ ในยามที่ความได้เปรียบทางการแข่งขันเริ่มถดถอยลง และนี่ยังไม่รวมถึงเรื่องต้นทุนราคาน้ำมันที่กระโดดขึ้นกว่าสองเท่านับจากปีที่แล้ว มายืนอยู่แถว 70-80 เหรียญต่อบาร์เรลในตอนนี้
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเริ่มยอมรับว่า เป็นภาพที่มองยากสำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปนับจากนี้ ซึ่งนอกจากจะต้องคาดเดาพฤติกรรมผู้บริโภคที่อาจปรับเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือได้ภายในช่วงเวลาเพียงข้ามเดือนแล้ว ก็ยังต้องจับทางเศรษฐกิจให้ออกว่าอุปสรรคที่เรื้อรังมาตั้งแต่ช่วงตกต่ำสุดขีดของวิกฤติการเงินนั้นจะจบสิ้นลงเมื่อไหร่
อเมริกันแอร์ไลน์สเล็งค้านหาก JAL เป็นพันธมิตรกับเดลต้า
อเมริกัน แอร์ไลน์ส อิงค์ เผยจะยื่นเรื่องคัดค้านอย่างเต็มที่หาก เจแปน แอร์ไลน์ส จับมือเป็นพันธมิตรกับเดลต้า แอร์ไลน์ส อิงค์ เพื่อเข้ากลุ่มสกายทีม ซึ่งมีเดลต้าเป็นแกนนำ โดยบริษัทอาจจะหาพาร์ทเนอร์ในภูมิภาคเพิ่มเติมอีกเช่นกัน
นายเจอราลด์ อาร์พีย์ ซีอีโอของอเมริกัน แอร์ไลน์ส กล่าวว่า จะเข้าไปขัดขวางไม่ให้มีการร่วมมือกันระหว่างสายการบินยักษ์ใหญ่ในภูมิภาค
ทางด้านแหล่งข่าวเปิดเผยกับสำนักข่าวเกียวโดว่า Enterprise Turnaround Initiative Corp. of Japan (ETIC) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รัฐบาลมอบหมายให้ดูแลแผนฟื้นฟูกิจการของ JAL กำลังพิจารณาเรื่องการเป็นพันธมิตรระหว่าง JAL และเดลต้า และยังวางแผนที่จะให้ JAL ถอนตัวจากการเป็นพันธมิตรกับกลุ่มวันเวิลด์ที่มีอเมริกัน แอร์ไลน์ส เป็นแกนนำ เพื่อที่จะมาเข้ากลุ่มสกายทีมในเดือนเม.ย. 2554
ทางด้านทอม ฮอร์ตัน ซีเอฟโอของอเมริกัน แอร์ไลน์ส กล่าวว่า บริษัทจะประเมินดูสายการบินอื่นๆในภูมิภาคด้วยเช่นกัน ทั้งที่เป็นสมาชิกของกลุ่มสายการบินและที่ไม่ได้เป็น ที่ผ่านมามีสายการบินหลายรายที่แสดงความสนใจเข้าร่วมกลุ่มวันเวิลด์ ซึ่งมีสมาชิก อาทิ บริติช แอร์เวย์ส, แควนตัส แอร์เวย์ส และคาเธย์ แปซิฟิค ซึ่งทางกลุ่มยังเปิดทางสำหรับการรับสายการบินจากละตินอเมริกา อินเดีย และเอเชียใต้เข้าเป็นสมาชิกด้วยเช่นกัน
เชื่อกันว่า อเมริกัน แอร์ไลน์ส และเดลต้า ต่างแย่งกันดึง JAL เข้ากลุ่ม เพื่อเป้าหมายในการให้บริการในเส้นทางที่ทำกำไร โดยอเมริกัน แอร์ไลน์ส และสมาชิกในกลุ่มวันเวิลด์ ได้เสนอเงินลงทุนให้ JAL จำนวน 1,400 ล้านดอลลาร์ ขณะที่กลุ่มสกายทีมภายใต้การนำของเดลต้า ได้เสนอเงินให้ JAL วงเงิน 1,020 ล้านดอลลาร์ และงบลงทุนโดยตรงอีก 500 ล้านดอลลาร์
ด้าน JAL ได้ยื่นขอคุ้มครองทรัพย์สินจากการล้มละลายต่อศาลแขวงโตเกียวเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 53 ที่ผ่านมา เพื่อที่จะฟื้นฟูกิจการภายใต้การดูแลของ ETIC ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นยืนยันว่า จะช่วยสนับสนุนให้สายการบินให้บริการต่อไปได้ในช่วงของการฟื้นฟู
นักวิเคราะห์ชี้จีนจำเป็นต้องคุมปริมาณเงินหมุนเวียน
การที่ธนาคารกลางจีนกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มการกันสำรองเงินฝากอย่างเหนือความคาดหมายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้จุดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้างเกี่ยวกับนโยบายการเงินของจีนในอนาคต
สำนักข่าวซินหัวจึงได้สอบถามนักวิเคราะห์บางส่วนเกี่ยวกับมุมมองที่มีต่อเรื่องนี้ ซึ่งนักวิเคราะห์หลายรายก็เชื่อว่า มาตรการดังกล่าวซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศนั้น เป็นสิ่งที่จีนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากธนาคารกลางจีนได้ติดตามสถานการณ์เรื่องราคาเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด และก็เล็งเห็นว่าราคามีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้
ปัจจุบัน ธนาคารกลางจีนต้องตกอยู่ในสภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก กล่าวคือในด้านหนึ่ง เศรษฐกิจจีนอาจสูญเสียปัจจัยกระตุ้นถ้าการปล่อยสินเชื่อถูกบีบ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ถ้ามีสภาพคล่องมากเกินไป จีนก็อาจจะต้องเผชิญกับราคาเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งถ้าราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็มีแนวโน้มที่ธนาคารกลางจีนจะจัดการกับปริมาณเงินหมุนเวียนอย่างเข้มงวดมากขึ้น
ข้อมูลจากแบงก์ชาติจีนชี้ว่า ยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ในปี 2552 อยู่ที่ 9.59 ล้านล้านหยวน และในเดือนธ.ค.2552 ยอดปล่อยสินเชื่อใหม่พุ่งแตะ 379,800 ล้านหยวน ซึ่งสูงเกินคาดการณ์ของตลาด
เมื่อวานนี้ ธนาคารกลางจีนประกาศขึ้นดอกเบี้ยตั๋วเงินคลังอายุ 3 เดือนเป็น 1.4088% จากระดับ 1.3684% ในสัปดาห์ก่อน หลังจากที่ใน 2 สัปดาห์ก่อน แบงก์ชาติจีนได้ขึ้นดอกเบี้ยตั๋วเงินคลังอายุ 1 ปี 0.166% ซึ่งเป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงความพยายามของจีนในการดูดซับสภาพคล่องส่วนเกิน และคุมเข้มปริมาณเงินหมุนเวียน
ในช่วง 14 สัปดาห์ติดต่อกันจนถึงปัจจุบัน ธนาคารกลางได้ถอนเงินออกจากระบบไปแล้ว 9.53 แสนล้านหยวน ซึ่งเป็นการดำเนินการผ่านตลาดเงิน
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวถือเป็นมาตรการคุมเข้มตลาดการเงินล่าสุดในบรรดามาตรการต่างๆที่แบงก์ชาติจีนได้ประกาศใช้ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา อาทิ การควบคุมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในประเทศซึ่งขยายตัวอย่างรวดเร็ว และการเพิ่มสัดส่วนการกันสำรองเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ 0.5% ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันจันทร์ที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากหวั่นเกรงว่าการขยายตัวของสินเชื่อที่สูงเกินไปจะส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อและภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์
จาง เจียนหัว ผู้อำนวยการสำนักวิจัยในสังกัดธนาคารกลางจีน กล่าวว่า จีนตัดสินใจใช้วิธีเพิ่มสัดส่วนสำรองเงินฝากธนาคารพาณิชย์เพื่อควบคุมปริมาณเงินหมุนเวียนที่มีอยู่มากเกินไปในระบบ แทนที่จะใช้วิธีควบคุมเข้มสภาพคล่องในเศรษฐกิจที่แท้จริง พร้อมกล่าวด้วยว่า เป็นเรื่องอันตรายสำหรับจีนที่จะรักษาปริมาณเงินทุนมหาศาลเอาไว้ในระยะยาว
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์บางรายยังคาดการณ์ด้วยว่า แบงก์ชาติจีนอาจขึ้นดอกเบี้ย ถ้าเศรษฐกิจของประเทศร้อนแรงเกินไป
เกาหลีใต้ตั้งเป้าสร้างงานใหม่ 250,000 ตำแหน่งในปีนี้
เกาหลีใต้ตั้งเป้าจะสร้างตำแหน่งงานใหม่กว่า 250,000 ตำแหน่งในปีนี้ เนื่องจากตลาดงานยังคงซบเซา แม้ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
ตัวเลขใหม่นี้ มากกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ที่ 200,000 ตำแหน่ง และแม้เศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว แต่ภาวะการจ้างงานยังคงซบเซา เพราะการจ้างงานมักตามหลังจังหวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
รัฐมนตรีคลังเกาหลีใต้ กล่าวว่า รัฐบาลจะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี รวมทั้งสิทธิประโยชน์อื่น ๆ แก่บริษัทขนาดเล็ก และขนาดกลางเพื่อสนับสนุนการจ้างงาน และในการกำหนดให้การสร้างงานเป็นภารกิจสำคัญ
ปีที่ผ่านมามีชาวเกาหลีใต้ขึ้นทะเบียนเป็นคนตกงานราว 890,000 คน แต่รัฐบาลคาดว่าตัวเลขจริงจะอยู่ที่ 1.82 ล้านคน รวมทั้งผู้ที่ทำงานชั่วคราว และผู้ที่ไม่กระตือรือร้นหางานทำ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ระบุในบทบรรณาธิการว่า ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึง ?ยุคน้ำแข็งของการจ้างงาน? หรือ ?ยุคที่เศรษฐกิจขยายตัวโดยไม่มีการจ้างงาน? ที่เกาหลีใต้กำลังเผชิญในปัจจุบัน
การขยายตัวการปล่อยสินเชื่อของญี่ปุ่นเดือนม.ค.ร่วงหนักสุดในรอบ 5 ปี
ผลการสำรวจที่จัดทำโดยธนาคารกลางญี่ปุ่น ?BOJ รายงานว่า อัตราความต้องการเงินกู้เพื่อใช้เป็นทุนดำเนินธุรกิจในเดือนม.ค.ร่วงลงสู่ระดับติดลบ 17 จุดจากเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2547
การขยายตัวของยอดส่งออกที่ช่วยหนุนให้เศรษฐกิจหลุดพ้นจากภาวะถดถอยครั้งใหญ่เมื่อปีที่ผ่านมานั้นยังไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นให้ภาคเอกชนกู้ยืมเงินมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ตัวเลขสินเชื่อภาคธนาคารในเดือนธ.ค.ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี เนื่องจากบริษัทหลายแห่งหันไประดมทุนผ่านการขายหุ้นกู้ ซึ่งเป็นวิธีหาเงินทุนที่ง่ายกว่าการกู้ยืมเงินจากธนาคารในช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินโลก
ด้านนักวิเคราะห์กล่าวว่า แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวขึ้น แต่เมื่อพิจารณาในแง่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจพบว่ายังอยู่ในระดับต่ำมาก ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ความต้องการสินเชื่อยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์เองไม่ได้มีช่องทางในการหารายได้มากนัก เพราะอุปสงค์ด้านเงินกู้ยังคงซบเซา
ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯที่ประกาศออกมาเมื่อวานนี้ (พฤหัสบดีที่ 21 ม.ค. 2553 ) ? ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ 482,000 ราย ? ตัวเลขสต็อกน้ำมันสำรองประจำสัปดาห์ ลดลง 0.4 ล้านบาร์เรล ? ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (ธ.ค.) เพิ่มขึ้น 1.1% จากเดือนก่อนหน้า
ติดตาม Money Wake up ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 6.00 น. ออกอากาศซ้ำเวลา 11.00 น. ทาง Money Channel
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ทองใหม่
|
 |
« ตอบ #386 เมื่อ: มกราคม 22, 2010, 10:39:09 AM » |
|
22 ม.ค. 2553
บาท/ดอลลาร์เช้านี้ทรงตัว แต่มีโอกาสอ่อนค่าหลังสหรัฐ-จีนคุมเข้มแบงก์
*บาท/ดอลลาร์ภาคเช้าทรงตัวแถวๆ ระดับ 33.00 หลังอ่อนค่าเมื่อวานนี้ ขณะที่ ดีลเลอร์คาดว่า เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าอีกเล็กน้อย ตามสกุลเงินอื่นๆ ที่ถูกกระทบ จากการที่สหรัฐจะคุมเข้มภาคธนาคารมากขึ้น และยังวิตกว่าจีนจะคุมเข้มสินเชื่อ *เยนพุ่งขึ้นเทียบดอลลาร์และยูโรในตลาดเอเชียช่วงเช้านี้ ขณะที่ความต้องการ สินทรัพย์เสี่ยงโดยทั่วไป ได้รับผลกระทบจากข้อเสนอของสหรัฐที่จะออกกฎระเบียบ ควบคุมภาคธนาคารของสหรัฐ *สกุลเงินที่ให้ผลตอบแทนสูง และเกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ดอลลาร์ออสเตรเลีย และดอลลาร์นิวซีแลนด์ ร่วงลงเช่นกัน ซึ่งเป็นผลส่วนหนึ่งจากแผนใหม่ของสหรัฐ และ จากความวิตกที่ยังมีอยู่ว่า จีนอาจคุมเข้มนโยบายการเงินอีกในไม่กี่สัปดาห์หน้า *ข้อเสนอของประธานาธิบดีบารัค โอบามา ที่ควบคุมภาคธนาคารมากขึ้นนั้น รวมถึงการสกัดกั้นธนาคารต่างๆ จากการเป็นเจ้าของ, สนับสนุน หรือลงทุนใน กองทุนเฮดจ์เพื่อหากำไร ซึ่งข้อเสนอนี้ได้ทำให้หุ้นกลุ่มธนาคารของสหรัฐร่วงลง *ขณะที่ความวิตกว่า จีนจะคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อและนโยบายการเงินนั้น ยังฉุด สกุลเงินที่เกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ร่วงลงในสัปดาห์นี้ หลังเศรษฐกิจจีนขยายตัว แข็งแกร่ง และวิตกกันว่า อัตราเงินเฟ้อเริ่มจะเพิ่มขึ้น *จีนเปิดเผยวานนี้ว่า จีดีพีขยายตัว 10.7% ในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว เมื่อเทียบ รายปี เพิ่มขึ้นจาก 8.9% ในไตรมาส 3 ขณะที่จีดีพีทั้งปี 52 ขยายตัว 8.7% *ส่วนยูโรร่วงลงมากที่สุดในสัปดาห์นี้ ขณะที่นักลงทุนวิตกต่อฐานะการคลังภาคสาธารณะ ของกรีซ ซึ่งกรีซเผชิญกับการขาดดุลงบประมาณจำนวนมาก และต้นทุนการกู้ก็เพิ่มสูงขึ้น *รัฐบาลกรีซเปิดเผยวานนี้ว่า จะดำเนินมาตรการที่จำเป็นทั้งหมด เพื่อควบคุมการ ขาดดุล และทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว *09.09 น.บาท/ดอลลาร์ อยู่ที่ 32.99/33.03 จาก 33.01/04 เมื่อวันพฤหัสบดี ขณะที่ในตลาด offshore อยู่ที่ 32.99/33.01 จาก 33.00/05 เมื่อวันพฤหัสบดี *เยน/ดอลลาร์ อยู่ที่ 89.94/95 จาก 90.39 ในตลาดนิวยอร์คเมื่อคืน *ยูโร/ดอลลาร์ อยู่ที่ 1.4129/33 จาก 1.4093 ในตลาดนิวยอร์คเมื่อคืน "เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ ใกล้เคียงกับปืดเมื่อวาน ระหว่างวัน คาดว่าน่าจะ เคลื่อนไหวแคบๆ เช่นเดียวกับเมื่อวานนี้ โดยมีโอกาสอ่อนค่าได้อีกเล็กน้อยตามสกุลอื่น รวมถึงปัจจัยภายในของเราเองด้วย" ดีลเลอร์กล่าว ดีลเลอร์ มองว่า ในวันนี้บาท/ดอลลาร์น่าจะปรับตัวในช่วง 32.95-33.10
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ทองใหม่
|
 |
« ตอบ #387 เมื่อ: มกราคม 22, 2010, 10:51:05 AM » |
|
ประเด็นสำคัญ - ราคาทองปิดลบใกล้ 1,100 ดอลล์ - ดอลล์ร่วงหลังโอบามาออกแผนจำกัดความเสี่ยงภาคธนาคาร - ราคาน้ำมันดิบร่วงขณะสต็อกเบนซินเพิ่มขึ้น - ดาวโจนส์ปิดร่วง 2.01% หลังโอบามาเสนอกฏคุมแบงค์
ราคาทองที่ตลาดสหรัฐปิดต่ำลงที่ราว 1,100 ดอลลาร์/ออนซ์ในวันพฤหัสบดี โดยแตะระดับต่ำสุดของปีนี้ ในขณะที่ข้อเสนอของประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐในการจำกัดความเสี่ยงของธนาคาร บั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วกระดาน
สัญญาทองส่งมอบเดือนก.พ.เคลื่อนตัวในช่วง 1,117.40-1,088 ดอลลาร์ซึ่งเป็นราคาต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค. ในขณะที่มีปริมาณการซื้อขายราว 277,582 สัญญา ทองได้รับแรงกดดัน หลังจากที่คณะบริหารของปธน.โอบามา เสนอข้อจำกัดที่เข้มงวดขึ้นต่อการเสี่ยงลงทุนด้านการเงินในวันพฤหัสบดี ซึ่งส่งผลให้หุ้นกลุ่มธนาคารและตลาดวอลล์สตรีทดิ่งลง
ประธานาธิบดีบารัค โอบามากล่าวว่า ภาคธนาคารไม่ควรได้รับอนุญาตอีกต่อไปให้เป็นเจ้าของ, สนับสนุน หรือลงทุนในกองทุนเฮดจ์ ฟันด์เพื่อแสวงหาผลกำไร
ดัชนีความผันผวน (VIX) ซึ่งบ่งชี้ถึงความวิตกของนักลงทุนพุ่งขึ้นประมาณ 14% สู่ 21.36 และปรับตัวขึ้น 2 วันคิดเป็นเปอร์เซนต์สูงสุดในรอบ 13 เดือน
นักวิเคระห์จากบริษัท ซัมมิท เอนเนอร์จี อิงค์ กล่าวว่าภาวะการซื้อขายในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เป็นไปอย่างผันผวน หลังจากหลังจากประธานาธิบดีบารัค โอบามา เสนอให้ใช้นโยบายจำกัดขนาดและการลงทุนของสถาบันการเงินเพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยครั้งใหม่
กองทุน SPDR Gold trust ซึ่งเป็นกองทุน ETF ทองรายใหญ่ที่สุดในโลก เปิดเผยว่าทางกองทุนได้ถือครองทองแท่งระดับ 1,111.922 ตัน ณ วันที่ 21 มกราคม 2553 ลดลง 0.914 ตัน จากวันที่ 15 มกราคม 53
กลยุทธ์ : หลังการหลุดแนวรับ Stop Loss สำคัญที่ระดับราคา 1123 US$ ซึ่งเป็นแนวที่สำคัญมาก ให้รออีก 2 วันทำการเพราะยังมีแรงลงต่อเนื่องเกิดขึ้นได้อีก สำหรับคนที่ลงทุนทองคำแท่งอาจจะแบ่งเข้าซื้อได้ในช่วงนี้ แต่เป้าหมายการลงลึกสุดในรอบนี้ราคาทองอาจจะมีการลงต่อได้อีกที่ 1,078US$ และ 1,050 US$
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 22, 2010, 12:56:25 PM โดย ทองใหม่ »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ทองใหม่
|
 |
« ตอบ #388 เมื่อ: มกราคม 22, 2010, 10:54:11 AM » |
|
22 ม.ค. 2553
สรุปภาวะตลาดเมื่อวาน ราคาโกลด์ฟิวเจอร์สปรับตัวช่วงแคบในตอนเช้า และปรับตัวลดลงรุนแรงช่วงเย็น ตามที่เราคาดการณ์ไว้เมื่อวานนี้ ทองคำแท่งสมาคมฯปิดที่ 17,300/400 บาท เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย
ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อเนื่องถึงวันนี้ ในประกาศประกอบรายงานการเติบโตเศรษฐกิจของจีนเมื่อวานนี้ รัฐบาลจีนได้ให้มุมมองบางส่วนแตกต่างออกไป โดยฉบับภาษาอังกฤษได้มีการตัดข้อความบางส่วนออกไปจากเดือนที่แล้วคือไม่ได้ให้มุมมองว่าจีนจะดำเนิน"นโยบายการเงินผ่อนคลาย (Moderately Loose Monetary Policy)"และ"นโยบายการคลังเพื่อการเติบโต (Proactive Fiscal Policy)"อีกต่อไป เป็นการแสดงเจตนาที่ค่อนข้างชัดเจนว่าจีนอาจปรับมาตรการต่างๆให้ดำเนินนโยบายแบบรัดกุมมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงพร้อมกับดอลลาร์ที่แข็งค่าต่อเนื่องเมื่อวานนี้ [Bloomberg, TCAF Research] เย็นเมื่อวานยังมีรายงานผลสำรวจผู้ประกอบการในยุโรปที่เริ่มแสดงให้เห็นว่ากลุ่มยูโรอาจดำเนินรอยตามสหรัฐฯไปคือผู้ผลิตยังมีมุมมองต่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะที่ผู้ให้บริการเริ่มประสบปัญหาแสดงให้เห็นถึงผู้บริโภคที่ยังไม่กลับมาใช้จ่าย เป็นการกดดันราคาทองคำได้ต่อไปอีก [Markit Economics, TCAF Research] บริษัทโกลด์แมนแซ็คส์ รายงานผลประกอบการออกมาดีกว่าคาดอย่างมากส่งผลให้นักลงทุนเริ่มมีความหวังและผลักดันตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นไปได้ในช่วงแรกเล็กน้อย [Reuters, TCAF Research] นายโอบามา ปธน.สหรัฐฯได้เสนอกฎวอล์คเกอร์ (Volcker Rule) เพี่อควบคุมการดำเนินงานของธนาคารโดยมีใจความสำคัญสองประการคือจำกัดให้ธนาคารสามารถดำเนินงานที่บริการลูกค้าเท่านั้นไม่ให้ธนาคารลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงมากเกินไปด้วยวัตถุประสงค์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับลูกค้า และให้จำกัดการเติบโตของการปล่อยเงินกู้ของธนาคารอีกด้วย ความเห็นดังกล่าวส่งผลกดดันค่าเงินดอลลาร์ในขณะที่กดดันราคาทองคำด้วย โดยเราเห็นว่าน่าจะส่งผลให้นักลงทุนทั่วโลกกลับมากลัวความเสี่ยงอีกครั้ง [US Government, TCAF Research]
แนวโน้มทองคำวันนี้ เรามองว่าไม่น่าจะมีข่าวร้ายส่งผลต่อราคาทองคำได้มากกว่านี้แล้ว โดยเฉพาะความเห็นของเราว่าเศรษฐกิจโลกน่าจะอยู่ในช่วงขาขึ้น เราจึงมองว่า "ราคาทองคำน่าจะค่อยๆเตรียมตัวปรับขึ้น" เราจึงแนะนำให้ "ค่อยๆสะสม LONG เมื่ออ่อนตัวโดยมีจุดตัดขาดทุนที่ราคาสปอตลดลงต่ำกว่า $1,083"
มุมมองทองคำ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวน่าจะมีความสำคัญที่สุดในช่วงนี้ ในขณะที่มาตรการต่างๆของมหาอำนาจก็น่าจับตามองไม่แพ้กันเนื่องจากอาจส่งผลต่อการรับความเสี่ยงของนักลงทุนและส่งผลต่อสถานะของทองคำได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
sa
Jr. Member

ออฟไลน์
กระทู้: 264
|
 |
« ตอบ #389 เมื่อ: มกราคม 22, 2010, 01:32:19 PM » |
|
ขอบคุณค่ะคุณทองใหม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
|
Thanks: ฝากรูป dictionary
---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ----------
---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc.
แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย
15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค
ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน
กพ และ กลางเดือน ตค -----
แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้
ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc.
Thanks: ฝากรูป dictionary
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|